Support
    moonlightthaiherbsth
    Your shopping cart
    ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
    ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

    ผิวหนังชั้นล่างขึ้นมาถึงผิวหนังชั้นบนต้องผ่านอะไรบ้าง?

    moonlightthaiherbsth2017@gmail.com | 31-08-2560 | เปิดดู 380 | ความคิดเห็น 0

    ขน

    มนุษย์ทุกคนมีขน 85,000 – 150,000 เส้น โดยคนที่มีขนสีบลอนด์จะมีจำนวนขนมากที่สุด ในขณะที่คนมีผมสีแดงมีจำนวนขนน้อยที่สุด ขนแต่ละเส้นหนาประมาณ 0.08 มิลลิเมตร และยาวขึ้นในราว 0.1 – 0.2 มิลลิเมตรต่อวัน รวมแล้วจะได้ขนยาว 30 เมตรและเนื้อเยื่อขนขนาด 6 ตารางเซนติเมตร ร้อยละ 90 ของขนคือเคราติน และมันจะผุดชี้ขึ้นจากรากที่อยู่ในรูขุมขน ในช่วง 2 ถึง 6 ปีรากขนจะสร้างสารใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเพื่อผลิตผมยาว 80 เซนติเมตร จากนั้นจะมีระยะพักตัวนานสองสัปดาห์ก่อนที่รากจะเริ่มสร้างขนเส้นใหม่ซึ่งจะผลักขนที่มีอยู่ก่อนขึ้นมาทางผิวหนังจนกระทั่งหลุดร่วงไป

    ผิวหนังชั้นบนสุด (Stratum corneum)

    ผิวหนังชั้นบนสุด (Stratum corneum) หนาประมาณ 0.02 มิลลิเมตร เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว (corneocyte) และสารที่เป็นไขมันซึ่งอยู่ตรงกลาง (intercellular lipid) ผิวหนังชั้นนี้เป็นตัวสร้างผิวหนังชั้นบนสุดที่หนาเพียง 0.02 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียน้ำ (dehydration) และสารระคายเคือง สารก่อภูมิแพ้ และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค

    ชั้นหนังแท้ (dermis)

    เป็นเนื้อเยื่อเชื่อมโยงแบบยืดหยุ่นหนาประมาณ 1 มิลลิเมตร ประกอบด้วยระบบหลอดเลือด อวัยวะรับความรู้สึกและเส้นประสาท รูขุมขน ต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในชั้นหนังกำพร้าและมีรากฐานอยู่ในชั้นหนังแท้ ความยืดหยุ่นเกิดจากคอลลาเจนที่แข็งแกร่ง เส้นใยที่ยืดหยุ่น บวกกับโมเลกุลสารพื้นฐานที่ชุ่มชื่นมาก (glycosaminoglycans) ที่มีอยู่ องค์ประกอบทั้งสามประการนี้สร้างขึ้นจากเซลล์เนื้อเยื่อเชื่อมโยง (fibroblast) รูปลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆ เกิดจากวัยที่สูงขึ้น (ริ้วรอย ผิวหย่อนคล้อย ไม่สดใส) มีผลมาจากการฉีกขาดและการยึดติดของเส้นใย รวมทั้งการสูญเสียความสามารถของฐานรากในการดูดซับความชุ่มชื่น

    ต่อมเหงื่อ (sweat glands)

    ต่อมเหงื่อเหล่านี้ผลิตสารคัดหลั่งซึ่งมาจากน้ำร้อยละ 98 รวมกับสิ่งที่ได้จากกระบวนการเผาผลาญและเกลือซึ่งช่วยสร้างความเย็นให้กับผิวด้วยกระบวนการระเหย จึงมีความสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เหงื่อที่เพิ่งออกจากร่างกายจะมีกลิ่นที่เป็นกลาง แต่จะกลายเป็นกลิ่นตัวอันไม่พึงประสงค์เมื่อรวมกับแบคทีเรียบนผิวหนัง สารคัดหลั่งที่เกิดจากต่อมมีกลิ่น (ต่อมเหงื่อ apocrine) ซึ่งสามารถพบได้ในบางส่วนของร่างกายก็มีส่วนในการสร้างกลิ่นตัวด้วย เหงื่อมีความเป็นกรดอ่อนๆ และเป็นส่วนหนึ่งของ ไฮโดรไลปิด ฟิล์ม ที่เป็นส่วนประกอบหลักของสภาพความเป็นกรดอ่อนๆ ของผิวที่ทำหน้าที่เป็นปราการปกป้องตามธรรมชาติในการปกป้องผิว

    ต่อมไขมัน (Sebaceous glands)

    ต่อมเหล่านี้สร้างสารที่เป็นไข (sebum) ซึ่งช่วยปกป้องและทำให้ผิวหนังและขนเนียนเรียบ กระบวนการดังกล่าวควบคุมด้วยฮอร์โมน (androgens) สารที่เป็นไขนี้มีค่า pH เป็นกรดอ่อนๆ และเป็นส่วนหนึ่งของสภาพความเป็นกรดอ่อนๆ ของผิวที่ทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกันผิวตามธรรมชาติในการปกป้องผิว

    ชั้นไขมัน (มีความหนาได้มากถึง 10 เซนติเมตร)

    ทำหน้าที่ปกคลุมอวัยวะต่างๆของร่างกายด้วยความหนาสูงสุดถึง 10 เซนติเมตร สารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายได้รับและไม่ได้ถูก เผาผลาญให้เป็นพลังงานก็จะถูกกักเก็บไว้ในรูปของไขมันอยู่ในชั้นไขมันนี้ และจะมีการนำมาใช้ในยามที่ร่างกายมีความจำเป็นไขมันที่เก็บกักอยู่นี้จะทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกและเป็นฉนวนเพื่อควบคุม อุณหภูมิความร้อนให้กับร่างกาย

    ผิวหนังทั้งหมด

    •           มีพื้นที่ 1.5 – 2 ตารางเมตร

    •           หนา 0.1 ถึงสุดสุด 10 เซนติเมตร

    •           น้ำหนัก 10 – 20 กิโลกรัม

    ต่อตารางเมตร

    •           มีเซลล์ประมาณ 6 ล้านเซลล์

    •           มีประสาทสัมผัสประมาณ 5,000 ปลายประสาทสัมผัส

    •           มีเส้นประสาทประมาณ 400 เซนติเมตร

    •           มีประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดประมาณ 200 ประสาท

    •           มีเส้นเลือดยาวประมาณ 100 เมตร

    •           มีต่อมเหงื่อประมาณ 100 ต่อม

    •           มีต่อมไขมันประมาณ 15 ต่อม

    •           มีประสาทรับความเย็นประมาณ 12 ปลายประสาท

    •           มีขน 5 เส้น

    •           มีประสาทรับความรู้สึกร้อน 2 ประสาท

    ความคิดเห็น

    วันที่: Sat Apr 19 21:38:41 ICT 2025

    แสดงความคิดเห็น
    All Comments: 0 Pages: 1/0